- 1.สถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทั่วโลกส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในปัจจุบันมากหรือน้อยเพียงใด ?
- 2.กลุ่มของสินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มใด ได้รับหรือเสียประโยชน์จากสถานการณ์ Covid-19 ?
จากสถานการณ์ Covid-19 โควิดเป็นโรคติดต่อระบาดครั้งใหญ่ของโลก โดยเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดขึ้นมาใหม่ในเมืองอู่ฮั่นที่ประเทศจีนเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2019 ไวรัสชนิดนี้เป็นชนิดใหม่ที่ไม่เคยพบเจอที่ไหนมาก่อน เป็นโรคภัยพิบัติที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างมากต่อชีวิตของคนทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน
จากกราฟด้านบน เราแบ่ง Timeline ของสถานการณ์โควิดออกเป็น 5 ช่วงหลักๆ คือ
- 1.ช่วงค้นพบโรค Covid-19 และ เริ่มระบาดทั่วโลก
- 2.ช่วงของการปิดประเทศและการกักตัวตามนโยบายควบคุมโรคในแต่ละประเทศ
- 3.ช่วงเริ่มต้นของการผ่อนคลายและเริ่มเปิดเขตแดนระหว่างประเทศ
- 4.ช่วงที่ประกาศ Covid-19 เป็นเชื้อโรคประจำถิ่นและเปิดให้มีกิจกรรมสันทนาการ
- 5.ช่วงที่ประเทศจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบาย Zero-Covid Policy จึงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการรวบรวมตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ล่าช้า ทำให้การรายงานผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเกินความเป็นจริงในระยะเวลาสั้นๆ และตกลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างจากช่วงอื่นๆ ที่มีการรายงานผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ประกอบกับช่วงเวลาที่ผ่านมาเกิดสภาวะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการปรับตัวของราคาสินค้าอย่างผันผวน เราจึงเริ่มตั้งคำถามในสิ่งที่เราสนใจ
-
1.สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทพลังงาน
- ได้แก่ น้ำมันดิบ, ก๊าซธรรมชาติ, น้ำมันให้ความร้อน
- สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทนี้เป็นสินค้าที่มีปริมาณความต้องการเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญต่อระบบขนส่งขนาดใหญ่ทั่วโลก และยังเป็นสินค้าหลักในการผลิตพลังงานและความร้อนแก่อุตสาหกรรมหนักขนาดใหญ่และครัวเรือน
-
2.สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทโลหะ
- ได้แก่ ดีบุก, ตะกั่ว, อะลูมิเนียม, เงิน, ทองคำ, นิกเกิล, สังกะสี, พาลาเดียม
- สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทนี้ใช้เป็นวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรมหนัก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จนไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องประดับ และบางสินค้าอย่างเช่น ทองคำ ยังอยู่ในกลุ่มของ "โลหะมีค่า" (Precious Metal) เพื่อการลงทุนในระยะยาวอีกด้วย
-
3.สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์
- ได้แก่ เนื้อหมู, เนื้อวัว
- สินค้าประเภทนี้เป็นเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค
-
4.สินค้าโภคภัณฑ์จากการเพาะปลูกที่ไม่ใช่เมล็ดพืช
- ได้แก่ กาแฟ, โกโก้, ไม่แปรรูป, น้ำตาล, น้ำส้ม
- สินค้าประเภทการเกษตรเป็น Soft commodity หรือผลิตภัณฑ์จากการเพราะปลูก จะมีอายุเก็บรักษาที่จำกัดและไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ซึ่งมีความผันผวนของราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ สภาพอากาศและปริมาณน้ำ เป็นต้น
-
5.สินค้าโภคภัณฑ์ประเภทธัญพืช
- ได้แก่ ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต, ข้าวโพด, ถั่วเหลือง, น้ำมันถั่วเหลือง
- สินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าที่บริโภคได้โดยตรงและสามารถแปรรูปได้ อาทิ แป้งข้าวโพด, ขนมปัง รวมไปถึงเป็นอาหารของสัตว์
- เนื่องจากราคาสินค้าแต่ละประเภทมีช่วงค่าที่แตกต่างกันเยอะมาก เช่น ราคาสินค้าประเภทหนึ่งมีราคาตั้งแต่ 100 - 1,000 ในขณะที่สินค้าอีกประเภทมีราคา 10,000 - 1,000,000 หากนำมาแสดงผลในกราฟเดียวกัน จะทำให้ไม่เห็นความแตกต่างของราคาที่มีช่วงเล็กกว่า เราจึงต้อง normalize ให้สามารถเปรียบเทียบกันได้
- วิธีการคือใช้สูตร (Price_at_date - Min_Price) / (Max_Price - Min_Price) ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 เสมอ โดยตั้งชื่อ Field ที่คำนวณขึ้นมาใหม่นี้ว่า Norm_Price
ข้อสรุป
- ราคาสินค้าพลังงานทุกประเภทตกลงอย่างมากในช่วงเริ่มระบาดของโควิด สาเหตุมาจากการหยุดใช้พลังงานอย่างกระทันหันจากการระงับการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ และการลดการใช้พลังงานของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม
- ปัจจัยเสริมฝั่งผู้ผลิต ไม่สามารถปรับลดปริมาณการผลิตลงมาได้ทันกับอุปสงค์ที่ลดลงกระทันหัน ทำให้ราคาน้ำมันดิบมีราคาติดลบในช่วงเวลาหนึ่ง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสต็อกที่ล้น มากกว่าค่าใช้จ่ายในการแจกจ่ายออกโดยไม่คิดราคา
- ราคาสินค้าพลังงานเริ่มฟื้นตัวหลังจากผ่านช่วงเริ่มต้นของโควิด และปรับตัวสูงขึ้นอีกในช่วงเริ่มเปิดประเทศตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2021 ไปจนถึงการผ่อนคลายควบคุมการท่องเที่ยวและกิจกรรมสันทนาการ
- ราคาสินค้าพลังงานค่อยๆ ปรับตัวลดลงหลังจากช่วงผ่อนคลายควบคุมการท่องเที่ยวและกิจกรรมสันทนาการ จนกลับมาในระดับเดียวกับราคาก่อนโควิด
ข้อสรุป
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทโลหะทุกประเภทมีราคาตกในช่วงแรกที่เกิด Covid-19 (ช่วงมีนาคม 2020)
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทโลหะหลังจากช่วงแรกของโควิดไม่ได้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด หากต้องการอธิบายความผันผวนจะต้องใช้ปัจจัยอื่นมาอธิบาย
ข้อสรุป
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์ทุกประเภทมีราคาตกในช่วงแรกที่เกิด Covid-19 (ช่วงมีนาคม 2020)
- จากกราฟจะสังเกตเห็นว่า ราคาเนื้อสัตว์ที่พร้อมสำหรับบริโภค (Live Cattle, Live Hogs) มีแนวโน้มราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ตลอด ไม่ได้สัมพันธ์กับจำนวนยอดผู้ติดเชื้อโควิด จะต้องใช้ปัจจัยอื่นมาอธิบาย
ข้อสรุป
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากการเพาะปลูกที่ไม่ใช่เมล็ดพืชทุกประเภทมีราคาตกในช่วงแรกที่เกิด Covid-19 (ช่วงมีนาคม 2020)
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทการเกษตรไม่ได้มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด ต้องใช้ปัจจัยอื่นมาอธิบายเพิ่มเติม
ข้อสรุป
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทธัญพืชมีราคาตกในช่วงแรกที่เกิด Covid-19 (ช่วงมีนาคม 2020) ยกเว้นข้าวเปลือกที่มีราคาขึ้นสูง ก่อนจะตกลงมาใกล้เคียงกับสินค้าธัญพืชอื่นๆ
- ราคาข้าวเปลือกมีราคาที่สูงขึ้นอย่างโดดเด่นในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2020 เนื่องจากการกักตุนสินค้าของผู้ผลิตรายใหญ่อย่างเวียดนาม
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทธัญพืชไม่ได้มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด ต้องหาปัจจัยอื่นมาอธิบายเพิ่มเติม
-
สถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทั่วโลกส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในปัจจุบันมากหรือน้อยเพียงใด ?
- ผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ทุกประเภทมีราคาตกลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงแรกของการระบาดเป็นช่วงสั้นๆ จากนั้นราคาปรับตัวขึ้นมาในระดับก่อนโควิดและมีความเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างมีนัยยะสำคัญ
- สินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักที่สุดในช่วงแรกของการระบาด คือ น้ำมันดิบ (ลดลงจนติดลบ) เนื่องจากการหยุดใช้พลังงานอย่างกระทันหัน จากการระงับเดินทางในประเทศและต่างประเทศ และการลดการใช้พลังงานของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับผู้ผลิตน้ำมันดิบปรับกำลังการผลิตลงไม่ทัน ส่งผลให้น้ำมันดิบล้นตลาด
-
กลุ่มของสินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มใดได้รับหรือเสียประโยชน์จากสถานะการณ์Covid-19 อย่างไร ?
- สินค้าโภคภัณฑ์ทุกกลุ่มเสียประโยชน์จากราคาสินค้าที่ตกลงในช่วงแรกในการระบาดของ Covid-19 โดยเฉพาะน้ำมันดิบ (Crude Oil) ซึ่งผู้ผลิดไม่ยอมลดกำลังการผลิตแม้ว่าจะมีปัจจัยทำให้อุปสงต์ตกอย่างรุนแรง (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก Wikipedia https://en.wikipedia.org/wiki/2020_Russia%E2%80%93Saudi_Arabia_oil_price_war)
Possible Actions from Insights
- สำหรับผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าโภคภัณฑ์ หากเกิดเหตุการณ์ที่ราคาสินค้าของตนตกลงอย่างกระทันหันจากวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด (Black Swan Event) ให้พยายามขายสินค้าที่มีอยู่ให้น้อยที่สุดเพื่อลดการขาดทุน เนื่องจากราคาสินค้าจะปรับตัวสู่สภาวะปกติในเวลาถัดมา
- สำหรับผู้ซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ ในช่วงที่ราคาสินค้าราคาต่ำจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว อาจจะเป็นโอกาสในการซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ราคาถูกกว่าราคาปกติ
-
ข้อสรุปที่ได้นอกเหนือจากการตั้งคำถามตอนแรก คือ
- สินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบน้อยจากวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด (Black Swan Event) เนื่องจากเป็นปัจจัยพื้นฐานในวิถีชีวิตของมนุษย์ทั่วโลก เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยี หรือ Cryptocurrency
Possible Actions from Insights
- การเลือกทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโภคภัณฑ์ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจของผู้ต้องการลงทุนในธุรกิจ เนื่องจากได้รับผลกระทบน้อยจากจากวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด (Black Swan Event) อย่างไรก็ตามสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าที่มีราคาผันผวนเป็นปกติ และผู้ผลิตไม่สามารถสร้างแบรนด์หรือสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างชัดเจน จึงไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าของตนได้ ผู้ต้องการลงทุนในธุรกิจโภคภัณฑ์จะต้องตระหนักในปัจจัยทั้งด้านบวกและลบก่อนตัดสินใจลงทุน
- https://th.investing.com/commodities/ (ราคาสินค้าโภคภัณฑ์)
- https://covid19.who.int/data (จำนวนยอดผู้ติดเชื้อโควิดทั่วโลก)